Design Theory: 5 Basic Principles of Typograph
ในโลกของการออกแบบ typography มีคํากล่าวที่ว่า It’s the art and technique that consists of arranging type with the purpose of making language more visible. ซึ่งน่าจะพอสรุปความได้ว่า การออกแบบตัวหนังสือ และเทคนิคการจัดองค์ประกอบ วัตถุประสงค์ก็เพื่อทําให้การความเข้าใจในภาษาที่หลากหลายขึ้น แล้วอะไรคือสิ้งที่นักออกแบบตัวหนึงสือเขาทํากัน คําตอบก็คือ เขาต้องทําให้แน่ใจว่าสิ่งที่เขาออกแบบ (ตัวหนังสือ) นั้นอ่านง่าย แต่ในการที่จะออกแบบให้มันดูแล้วอ่านง่ายก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนอยู่ไม่น้อย เพราะต้องอาศัยเทคนิคหลายอย่างเข้าไม่ช่วย ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาการับรู้ของมนุษย์ การจัดองค์ประกอบ ช่องว่าง ระยะห่าง และการเข้ากันกับตัวอักษรอื่นๆ ในวันนี้เราจะมาทําความเข้าใจถึงพื้นฐาน 5 ประการในการออกแบบตัวอักษร
1. Don’t use too many typefaces
อย่าใช้ตัวอักษรที่หลากหลายมาก
คุณรู้ไม่ว่าการที่เราเลือกใช้ตัวอักษรในการออกแบบหรือสร้างงานขึ้นมาหนึ่งชิ้น เป็นเรื่องที่ทําได้อยากถ้าเราต้องการให้ตัวอักษรเหล่านั้นสามารถเข้ากันได้อย่างกลมกลืน รูปแบบตัวอักษรหลักสามาแบ่งได้เป็นประเภทดังต่อไปนี้
Serif Sans-Serif
แบบเซริฟคือแบบอักษรที่มีขีดเล็ก ๆ อยู่ที่ปลายอักษรเรียกว่า เซริฟ ดังที่ปรากฏในตัวอักษรตระกูล Times แบบอักษรชนิดนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบโรมัน (roman) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอักษรที่จารึกไว้ในหินของอาณาจักรโรมัน เซริฟมีส่วนช่วยในการกวาดสายตาไปตามตัวอักษร ทำให้อ่านง่าย และนิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ
ส่วนแบบซานส์เซริฟก็มีความหมายตรงข้ามกันคือไม่มีขีดที่ปลายอักษร และมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าแบบกอทิก (gothic) อักษรชนิดนี้ไม่เหมาะกับการเป็นเนื้อความ แต่เหมาะสำหรับใช้พาดหัวหรือหัวเรื่องที่เป็นจุดเด่นซึ่งมองเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม ฟอนต์สมัยใหม่ที่ได้รับการออกแบบในคอมพิวเตอร์ อาจมีทั้งแบบเซริฟและซานส์เซริฟปะปนกันในฟอนต์หนึ่งๆ
2. Contrast is good, but the wrong colors can be painful
การใช้สีที่ตัดกันบางทีก็เป๋นเรื่องที่ดีช่วยทําให้งานออกแบบเราเด่นขึ้น แต่ถ้าเราเลือกสีผิดจะทําให้งานเราดูแย่ลงไปในทันตา เราสามารถศึกษาหาความรู้ได้จากทฤษฎีสีขั้นพื้นฐาน หรือวงล้อสี สิ่งเปล่านี้จะทําให้เราสามารถเลือกใช้สีได้อย่างแม่นยําและสวยงาม
3. Limited use of display faces
อย่าใช้ตัวอักษรเดิมๆ ที่เราคิดว่ามันใช่บ่อนเกินไป การที่เราใช้ตัวอักษารแบบเดิมกับงานใหม่ๆ ซึ่งบางครั้งอาจคิดว่าเป็นการรักษาเอกลักษณ์ในงานออกแบบของเรา แต่ในทางตรงข้ามผู้ชมอาจเบื่อในสิ่งที่นักออกแบบยัดเยียดให้เขาได้
4. Scannable text is a must
ถ้าต้องการใช้ข้อความี่ยาวๆ ให้อ่านง่ายและต่อเนนื่องควรคํานึงถึงการกวาดสายตาของผู้อ่าน
5. Don’t distort typefaces
อย่าบึดเบือนรูปแบบตัวอักษร บางครั้งเรารู้สึกว่าจำเป็นต้องยืดดึงของข้อความที่จะทำให้มันพอดีกับพื้นที่บางอย่างหรือทำให้มันมีลักษณะที่แตกต่างกัน เพราะรักออกแบบเขาทําการสร้างสรรค์มาเป็นอย่างดีในเรื่องของสัดส่วน การที่เราไปยืด หรือ บีบ ตัวอักษรจะทําให้รูปแบบตัวอักษรผิดสัดส่วนแลดูไม่สวยงามอย่างแน่นนอน