เทคนิคการวางตำแหน่งและกําหนดขนาดการปักชื่อนักเรียน
- oasiscmu
- Feb 15, 2016
- 1 min read
ตําแหน่งและขนาดในการปักชื่อนักเรียนจะขึ้นอยู่กับกฏของแต่ละโรงเรียนซึ่งเราสามารถศึกษาได้จาก "คู่มือนักเรียน" ของแต่ละโรงเรียน โดยทางทีมงานได้ค้นหาตัวอย่างมาเพื่อให้ทุกท่านได้ทดลองศึกษา

จากที่ได้เกริ่นมาในด้านบนกระทู้นะครับว่าแต่ละโรงเรียนมีกฎไม่เหมือนกัน โดยเราสามารถศึกษาได้จากคู่มือนักเรียน ตัวอย่างแรกจะเป็น "คู่มือนักเรียน" ของโรงเรียนวัดพุทธบูชา โดยในหัวข้อที่ 1.7 แสดงรายละเอียดในหัวข้อ*เครื่องหมายโรงเรียน* อ้างอิงค์จาก คู่มือนักเรียนโรงเรียนวัดพุทธบูชา (หน้า 11, 13) http://www.wpb.ac.th/File/%E0%B8%84%E0% ... %B8%99.pdf

ในภาพนี้เป็นตัวอย่างการปักอักษรย่อของโรงเรียน โดยมีการระบุรายละเอียดในส่วนของขนาดและตําแหน่งที่จะให้ปักไว้อย่างชัดเจน อ้างอิงค์จาก คู่มือนักเรียนโรงเรียนวัดพุทธบูชา (หน้า 11, 13) http://www.wpb.ac.th/File/%E0%B8%84%E0% ... %B8%99.pdf

รูปนี้เป็นคู่มือนักเรียนโรงเรียนสตรีภูเก็ต จะสังเกตุว่ามีรายละเอียดระบุตําแหน่งที่จะต้องปัก ชื่อนักเรียนและตัวอักษรย่อไว้อย่างชัดเจนเช่นกัน แต่ต่างจากโรงเรียนวัดพุทธบูชาข้างต้น คู่มือนักเรียนโรงเรียนสตรีภูเก็ต (หน้า 1) http://www.satreephuket.ac.th/people_ma ... rabeab.pdf

รูปนี้เป็นตัวอย่างของการปักชื่อนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ (ขอบคุณข้อมูลจาก http://iamaugust.diaryclub.com/20070923 ... 1%E4%A1%E8)

ในเรื่องของขนาดตัวอักษร ส่วนใหญ่ชื่อนักเรียนจะนิยมใช้ขนาด 7 mm ในการปักชื่อ แต่บางโรงเรียนก็ใช้ขนาด 5 mm และรูปแบบตัวอักษรที่ใช้ก็เป็นฟ้อนต์ *กิ่งกาญจน์* (ตัวอักษรแบบหัวตัด) ในส่วนของตัวอักษรย่อของโรงเรียน นิยมใช้ขนา 13 mm (บางโรงเรียนก็กำหนด 15 mm) ซึ่งเป็นขนาดที่ปักออกมาแล้วไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ดูแล้วสวยสบายตา อ่านง่ายชัดเจน และรูปแบบตัวอักษรที่ใช้ก็เป็นฟ้อนต์ *วงเดือน* (ตัวอักษรแบบหัวกลม) ในส่วนของเลขประจําตัวนักเรียนส่วนใหญ่นิยมปักด้วยฟ้อนต์ *วงเดือน* (ตัวอักษรแบบหัวกลม) ขนาดตัวอักษรประมาณ 10 mm และใช้เลขไทยนะครับ ในส่วนของสีด้ายที่ใช้ในการปักก็ขึ้นอยู่กับกฎของแต่ละโรงเรียนที่ระบุบไว้ใน "คู่มือนักเรียน" แต่สีด้ายที่ใช้โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นสีนํ้าเงิน หรือสีแดง ติดตามอ่านในหัวข้อถัดไปกันนะครับ

Comments